วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

การศึกษาดูงาน " นิทรรศรัตน์โกสินทร์ "

        นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ได้นำเสนอเรื่องราวด้านต่างๆ แห่งยุครัตนโกสินทร์ ผ่านห้องจัดแสดง ซึ่งตั้งชื่อไว้อย่างคล้องจองกัน โดยเส้นทางที่ 1 (หมายเลข 1-7) เปิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554 เส้นทางที่ 2 (หมายเลข 8-9) เปิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โดยรายละเอียดของห้องจัดแสดง มีดังนี้


       โดยในครั้งนี้ในทางกลุ่มดิฉัน ได้เลือกชมนิทรรศการในเส้นทางหมายเลข 1 ความสนุกก็จะมีประมาณนี้ สำหรับการเดินชมนิทรรศการจะมีวิทยากรบรรยายความรู้ พร้อมบอกที่มาของประวัติต่างๆ เริ่มจากโซนที่ 1




       ด้านหน้าก่อนเข้าชมนิทรรศการในเส้นทางที่ 1 และ 2 ทุกคนจะต้องมายืนที่จุดนี้ และร่วมเล่นกิจกรรม โดยให้ทุกคนโบกมือให้กับหน้าจอ แล้วจะมีฝูงนกบินขึ้นมาจากจุดที่เรายืน 


1. รัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ (Grandeur Rattanakosin) 

       เป็นห้องสตูดิโอ ที่ห้ามบันทึกภาพและวีดีโอ จัดแสดงภาพยนตร์สื่อผสม 4 มิติ นำเสนอประวัติความเป็นมาของการกำเนิดกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ยิ่งใหญ่ทัดเทียมกรุงศรีอยุธยา ด้วยพระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรี ภายในห้องเป็นเหมือนโรงภาพยนต์เล็ก และมีการแสดงหุ่นจำลองขนาดย่อแบบเสมือนจริง ใช้เทคนิคกราฟิกเชื่อมโยงและผสมผสาน มีฝนตกเป็นไอน้ำลงมา  เทคนิคที่ตื่นเต้นที่สุดคือการนั่งชมในชั้นที่สองเมื่อชมเสร็จ วิทยากรแจ้งว่าขณะนี้เราได้อยู่ในชั้นที่ 3 แล้ว


  

2. เกียรติยศแผ่นดินสยาม (The Prestige of the Kingdom)

       จัดแสดงความวิจิตรอลังการของพระบรมมหาราชวัง ตามคติความเชื่อในความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์ ที่สะท้อนผ่านงานด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ตลอดจนประวัติของพระแก้วมรกต เรื่องราวของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเกร็ดน่ารู้ น่าสนใจเกี่ยวกับชีวิตในวัง



ในโซนนี้จะเป็นหุ่นจำลองขนาดย่อ จะมีวีดีทัศน์ประกอบ มีแสงส่องลงมาตามจุดต่างๆ พร้อมมีเสียงอธิบาย


ห้องเกียรติยศแผ่นดินสยาม 






ในโซนนี้เป็นการโชว์ผลงานลวดลายทางด้านศิลปะ มองตรงๆเหมือนจะเป็นแท่นแสดงภาพธรรมดา แต่แฝงด้วยลูกเล่น คือการนำกระจกเป็นส่วนกั้นระหว่างช่อง เมื่อเราก้มหน้าเข้าไปแล้วมองซ้ายกับขวา ก็จะเห็นเป็นอุโมงแบบสุดลูกหูลูกตาเลยทีเดียว







พระแก้วมรกตได้ถูกอันเชิญไปเมืองต่างๆเป็นระยะเวลา 310ปี กระทั่ง ปี 2321 ทรงอัญเชิญจากเวียงจันทร์กลับมากรุงธน 2327 เชิญมาที่วัดพระแก้ว


3. เรืองนามมหรสพศิลป์ (Remarkable Entertainments) 

       จัดแสดงความเป็นมา และรูปแบบของมหรสพสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์หลากหลายประเภท ตลอดจนวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของมหรสพและการแสดงประเภทต่างๆ ในแต่ละยุคสมัย ซึ่งบูรณาการและแตกสายจนมีความงาม และลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป  เป็นการจัดแสดงในห้องแบบ 360 องศา 










4. ลือระบิลพระราชพิธี (Renowned Ceremonies) 

       จัดแสดงที่มาและความสำคัญของพระราชพิธี รวมทั้งเกร็ดความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธีสำคัญๆของกรุงรัตนโกสินทร์

พิธีแรกนาขวัญ



หุ่นจำลอง ลักษณะช้างเผือกที่ดี

5. สง่าศรีสถาปัตยกรรม (Graceful Architectures) 

       จัดแสดงรูปแบบสถาปัตยกรรมในยุครัตนโกสินทร์ อันเป็นเอกลักษณ์ของสยามประเทศ ผ่าน วัง วัด บ้าน แห่งยุคสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงสอดรับกับปัจจัยแวดล้อม ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจากต่างประเทศ จนทำให้วัง วัด บ้าน ในกรุงรัตนโกสินทร์ มีลักษณะหลากหลายดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
การศึกษาในสมัยก่อนเด็กผู้ชายจะได้เรียนกับพระ ส่วนเด็กผู้หญิงจะต้องอยู่บ้าน





6. ดื่มด่ำย่านชุมชน (Impressive Communities)

       จัดแสดงความเป็นมาและเอกลักษณ์ของชุมชนบนเกาะรัตนโกสินทร์ เพียงแค่ก้าวเท้า ไปยังจุดที่ตั้งของชุมชน จะปรากฏลวดลายสวยงาม นำผู้ชมไปทำความรู้จักชุมชนนั้น พร้อมชื่นชมผลงานการรังสรรค์จากชุมชนต่างๆ ซึ่งบางชิ้นหาชมได้ยากในปัจจุบัน

จัดอยู่ภายในห้องวงกลม ห้องนิทรรศการ ที่ถูกแบ่งไว้14สถานที่  สื่อที่ใช้มีทั้งกราฟิก และวีดีโอบรรยาย พร้อมด้วยมีหูฟัง ที่สามารถฟังบรรยาย และยังมีเทคนิคให้ผู้เข้าชมได้ร่วมเล่นแบบสนุกๆ โดยการไปยืนบนจุดกลมๆจากนั้นจะมีเส้นทางบอกให้เราเดินไปตามช่องของสถานที่ต่างๆ
สถานที่ ประกอบด้วย ถนนดินสอ ชุมชนช่างทอง บ้านลาน บ้านพานถม ชุมชนกรงนก บ้านธูป บ้านน้ำอบ บ้านสาย บ้านดอกไม้ บ้านบาตร ย่านสังฆภัณฑ์ ถนนตีทอง 




7. เยี่ยมยลถิ่นกรุง (Sight-Seeing Highlights) 

       รวบรวมและนำเสนอ สถานที่น่าสนใจบนเกาะรัตนโกสินทร์ หลายรูปแบบ ทั้งสถานที่ที่น่าสนใจในเชิงสถาปัตยกรรมอันสวยงาน สวนสาธารณะยอดนิยม พิพิธภัณฑ์ที่ควรเยี่ยมชม แหล่งรวมอาหารการกินและจับจ่ายสินค้า ตลอดจนย่านที่เป็นสีสันในยามค่ำคืน ซึ่งแต่ละสถานที่ต่างก็มีบรรยากาศอันชวนให้หลงใหลในแบบฉบับของตัวเอง

การถ่ายรูปด้วยกล้องโบราณ


การนำภาพถ่ายมาใส่ในการ์ตูนอนิเมชั่น ที่จะพาเข้าชมในสถานที่ต่างๆ



8. เรืองรุ่งวิถีไทย (The Colorful Thai Way of Living) 

       รวบรวมและนำเสนอวิถีชีวิตของคนไทย นับตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนถึงปัจจุบันผ่านมัลติทัชเกมการเรียนรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ปัจจัยและอิทธิพลต่างๆ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัย

เขตพระราชถานชั้นใน ที่มีแต่ผู้หญิง

                            
                                                                                         การอบร่ำผ้า




การทำอาหารแบบชาววัง


การร้อยมาลัย




9. ดวงใจปวงประชา (The Heart and Soul of the Nation)

       รวบรวมและนำเสนอเรื่องราว พระอัจฉริยภาพ และพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทั้ง ๙ รัชกาล ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน 


       ก่อนเข้าไปชม ระหว่างทางเดินจะมีประวัติของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ โดยจะมีการบรรยายทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ


       หลังจากที่เดินชมในส่วนทางเดินเรียบร้อยแล้ว ก็จะไปดูต่อที่ชั้น 2 

ภาพเขียนแห่งประวัติศาสตร์ของชาติไทย เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙
Our memorably exquistings, "Long Live the King" The celebration of the sixtieth years in the reigning king of Thailand
คืนแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี จากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถึงท่าราชวรดิษฐ์ ถ่ายทอดอารมณ์ยามราตรี ด้วยสีน้ำเงิน  สีแห่งกษัตริย์ไทย จากธงไตรรงค์

ชื่อภาพ : จันทรา(ภาพกลางคืน)
ศิลปิน : จอมพล พันทวี 
เทคนิค : สีฝุ่นบนผืนผ้าใบ
ขนาด : ๕ x ๑.๖๐ เมตร






       อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เปิดให้บริการทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-19.00 น. โดยนอกจากนิทรรศการหลัก ภายในอาคารยังมีจุดที่น่าสนใจ และบริการเสริม อาทิ


  • ห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เป็นห้องสมุดเฉพาะด้าน ที่รวบรวมหนังสือ สื่อมัลติมีเดีย เกี่ยวกับกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  • โถงกิจกรรมอเนกประสงค์ ขนาด 300 ตรม. สำหรับจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมหมุนเวียน ตลอดปี
  • จุดชมทิวทัศน์ ชั้น 4 ที่สามารถชมทัศนียภาพของถนนราชดำเนิน และสถาปัตยกรรมในมุมมองกว้าง
  • บริการ อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าของที่ระลึก
ที่มา : wikipedia



       หลังจากที่ชมนิทรรศการของเส้นทางที่1 จนครบแล้ว ก่อนทางออก จะมีตู้ให้ทำแบบสอบถามความเห็น เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็จะให้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ละรึก





หัวข้อกำหนดตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย 

ภาพสมาชิกภายในกลุ่ม

1. ชื่อนิทรรศการ :  นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

2. วัตถุประสงค์ของการจัดนิทรรศการ : เป็นนิทรรศการแบบถาวร จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมชมประวัติและความเป็นมาของกรุงรัตนโกสินทร์

3. กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้สนใจเข้าร่วมชม

4. สื่อที่ใช้ในการนำเสนอ : สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทแผนภาพ เช่น หุ่นจำลอง, หุ่นเท่าของจริง,  วัสดุ 3มิติ ,ภาพ-วีดีโอพร้อมเสียงบรรยาย, หุ่นจำลองแบบย่อส่วน ฯลฯ

5. ผังการแสดง

     ที่มา : nitasrattanakosin.com

6. จากการศึกษาวิเคราะห์สื่อ สามารถนำแนวทางการบอกแบบสื่อมาปรับใช้ในงานแสดงนิทรรศการของตนเอง : สร้างสิ่งที่จะดึงดูดผู้ชมนิทรรศการด้วยสร้างกิจกรรม และสื่อที่น่าสนใจอาจไม่ต้องเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แต่อาจเป็นกลไกการทำงาน หรือเป็นภาพ 3มิติ  สร้างกิจกรรมที่ผู้ชมอาจมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนั้นๆด้วย สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เข้าชมด้วยการมีเซอไพรส์ หรือสิ่งที่ตื่นเต้น


วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนการสอน วันจันทร์ ที่ 22 มกราคม 2561

       สัปดาห์ที่สามของภาคเรียน วันนี้จะเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องที่เรียนมีดังนี้

   ในเทอมนี้จะมีการจัดนิทรรศการด้วยกันสองครั้ง คือนิทรรศการ งานกิ๊ฟ และนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะนิพนธ์ โดยงานนิทรรศที่จะจัดขึ้นในงานกิ๊ฟนั้น จะจัดขึ้นประมาณปลายเดือนมีนาคม จัดที่บริเวณอาคารตึก 28

1. การวางแผนและการเตรียมงาน

- การวางแผน
- การเตรียมงาน
- การออกแบบ
- การดำเนินงาน
- การวิเคราะห์นโยบายและเป้าหมาย
- การกำหนดวัตถุประสงค์
- พิจารณาข้อกำหนดและเงื่อนไขทั้งภายในและภายนอก
- การคัดเลือกวิธีการหรือกลยุทธที่จะดำเนินงานตามแผน
- การวิเคาระห์การปฏิบัติที่น่าจะเป็นไปได้
- การบันทึกและจัดรูปแบบแผนงาน
- การแบ่งงานและทำความเข้าใจกับผู้ร่วมปฏิบัติ
- การวางแผนงานต่างๆ

2. การเตรียมเนื้อหา

- การกำหนดชื่อนิทรรศการ
- การกำหนดวัตถุประสงค์
- การรวบรวมสื่อ
- การวิเคราะห์ข้อมูล

3. การเตรียมเกี่ยวกับกำหนด

- จุดมุ่งหมาย
- งบประมาณ
- เนื้อหา
- พื้นที่ 
- เวลา

4. การกำหนดเวลาในการจัดแสดง

- เลี่ยงเวลาที่มีคู่แข่ง
- การร่วมผสมกลมกลืน


5. การกำหนดสถานที่

- ตั้งอยู่ในย่านชุมชนหรือท้องถิ่น
- สะดวกต่อการติดต่อและการใช้บริการ
- มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหา
- มีคู่แข่งข้างเคียง
- ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
- เป็นพื้นที่ขอความช่วยเหลือต่อชุมชนได้

6. กำหนดผัง

- การวางแผนแบบตาราง
- การวางผังแบบให้มีการหมุนเวียนอิสระ

7. การกำหนดเตรียมการประชาสัมพันธ์

- ก่อนแสดง
- การนำนิทรรศการออกมาแสดง

8. การเตรียมบุคคล

- ฝ่ายผู้จัด
- กลุ่มผู้ชม

9. ขั้นตอนการออกแบบ

- ออกแบบสัญลักษณ์ของงาน
- ออกแบบสื่เนื้อหา
- ออกแบบที่ติดตั้ง
- ออกแบบการจัดวาง
- ออกแบบการตกแต่ง
- ออกแบบกิจกรรม อาจมีครั้งเดียว หรือเป็นรอบ

       สื่อวัสดุกราฟิก คือ  วัสดุคล้ายลายเส้น หรือสื่อลายเส้น ประกอบด้วยลายเส้นตัวอักษรและสัญลักษณ์ต่าง ๆ  เพื่อเสนอเรื่องราว ความรู้และเข้าใจง่าย รวดเร็ว และถูกต้อง

1. สื่อแผนภูมิ

2. แผนสถิติ

3. แผนภาพ


งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้ 
       แบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 คนให้ไปดูงานนิทรรศการ แล้วเขียนสรุปดังนี้

- ถ่ายรูปสมาชิกในกลุ่มกับสถานที่ไป
- วัตถุประสงค์คืออะไร
- มีสื่ออะไรน่าสนใจบ้าง มีวิธีการสร้างสรรค์อย่างไร  เหมาะสมหรือไม่
- กลุ่มเป้าหมาย
- รวมเป็นการรายงานใน Power Point และ Export file เป็น PDF. โพสต์ส่งก่อนเที่ยงคืนของวันจันทร์












วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

งาน “Maker Faire Bangkok: ลานอวดของประลองไอเดีย”

งานครั้งที่ 2  งาน “Maker Faire Bangkok: ลานอวดของประลองไอเดีย”

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20–21 มกราคม 2561 ตั้งแต่เวลา 14.00-20.00 น. ณ ลานหน้าศูนย์การค้า เดอะสตรีท รัชดา


ที่มา Facebook : Maker Faire Bangkok

ชื่องาน   :  Maker Faire Bangkok: ลานอวดของประลองไอเดีย”
มีวัตถุประสงค์  : เป็นงานที่รวบรวมสิ่งประดิษฐ์ และไอเดียต่างๆที่หลากหลาย
สื่อที่น่าสนใจ   : ดนตรีจากผลไม้ , เครื่องเคาะไฟฟ้า และยังมีของเล่นที่มาจากไอเดียสุดเจ๋งอีกมากมาย ทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งรอบตัวนำมาทำให้เกิดประโยชน์

ดนตรีจากผลไม้


เครื่องเคาะไฟฟ้า

กิจกรรมที่มีภายในงาน   : มี Work Shop ให้ร่วมเล่นเกมส์ รวมทั้งมีการสาธิตและอธิบายถึงสิ่งประดิษฐ์ให้ฟัง และยังมีการแสดงโชว์ภายในงาน มีการแข่งขันหุ่นยนต์ประกวด
สิ่งที่ได้จากการชมนิทรรศการนี้ : ได้รู้ถึงการวางผังงานและการประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ที่สามารถนำสิ่งใกล้ตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้เห็นถึงไอเดียต่างๆ และได้ร่วมกิจกรรมอีกมากมาย


ที่มา Facebook : Maker Faire Bangkok


ภาพตาบูธต่างๆ

เครื่องปริ้น 3D

เครื่องปริ้น 3D

ลองบอร์ดไฟฟ้า


เครื่องเลเซอร์ วาดภาพบนวัตถุไม้

Work shop การทำเครื่องเคาะดนตรี


สิ่งประดิษฐ์ของเล่น แยกการจำโดยใช้สี

เสียงดนตรีที่เชื่อมกับการแสดง


เข้าชมรายละเอียดงานนิทรรศการได้ที่ Facebook : Maker Faire Bangkok